อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ประวัติความเป็นมา
ตำบลลมศักดิ์ แยกจากตำบลตะเคียนเมื่อปี 2534 โดยมีกำนันคนแรกคือ นายสนามชัย เลิศศรี และมี นายสรึม พุ่มเพชร เป็นกำนันคนปัจจุบัน ที่มาของชื่อตำบลลมศักดิ์มีที่มาจากการนำชื่อพยางค์ที่สองของ 2 หมู่บ้านคือบ้านจันลม และบ้านทุ่งศักดิ์ มารวมกันเป็น “ลมศักดิ์” โดย นายสุนาย ลาดคำกรุง นายอำเภอขุขันธ์ ขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินการขอตั้งตำบลลมศักดิ์ ในสมัยนั้น และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหาร ส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 โดยมี นายสนามชัย เลิศศรี เป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนแรก ภาษาที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาเขมรถิ่นไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลสมศักดิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านอาทิ หมู่ที่ 2 ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอขุขันธ์ อยู่ห่างจากอำเภอขุขันธ์ 22 กิโลเมตร
พื้นที่
มีเนื้อรับผิดชอบ จํานวน 22.52 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 14,087 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับดอน ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทํานา มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 14,366.86 ไร่ และทำไร่ยางพาราจำนวน 127 ไร่ มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ หนองอาทิ หนองกาดใหญ่ และหนองจันลม มีป่าชุมชนที่ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์ไว้ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ประกอบด้วยต้นยางนา ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระบาก จำนวน 2 แห่ง คือป่าตะกวน อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านกะเจามีเนื้อที่ประมาณ 603 ไร่ และป่าใหญ่หนองกาด อยู่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 5 บ้านหนองกาดมีเนื้อที่ประมาณ 194 ไร่
เขตพื้นที่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานอื่น ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ ติดต่อกับ ต.ดินแดง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
- ทิศใต้ ติดกับ ต.ห้วยเหนือ และต.สะเดาใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
- ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
- ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ตะเคียน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
อาชีพ
- อาชีพหลัก ทำนา และทำไร่ยางพารา
- อาชีพเสริม เลี้ยงสุกร ไก่ ปลูกพริก จักสาน
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 916 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 916 หลังคาเรือน
การเดินทาง
ถนนหลวงหมายเลข 220 ขุขันธ์-ศรีสะเกษ และ ศก.3016 ระยะทางจากอำเภอขุขันธ์ ถึง ตำบล 16 กม. ระยะทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ถึงตำบล 53 กิโลเมตร
ผลิตภัณฑ์ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย เสื่อกก
ระบบสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นของ อบต.ลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ภายใต้กรอบแนวคิดของ The six building blocked
1.ระบบบริการ (Service Delivery)
- การเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19
- การเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี
- การเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในเกษตรกร
- การพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กเล็ก
- การเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง
- การรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน
- การเยี่ยมบ้าน ติดตามดูแล และตรวจสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง
ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
2. กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)
๑. ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย
๑) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุขันธ์ ประธานที่ปรึกษา
๒) สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ ที่ปรึกษา
๓) ท้องถิ่นอำเภอขุขันธ์ ที่ปรึกษา
มีหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและชอบด้วยประกาศ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย
๑) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลมศักดิ์ ประธานกรรมการ
๒) นายประสิทธิ์ บุญรอด ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
๓) นางพันธ์ พันธ์ภักดี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ
๔) นายจำรูญ พันธ์มาลี สมาชิกสภา อบต. กรรมการ
๕) นายวิชัย ทองอินทร์ สมาชิกสภา อบต. กรรมการ
๖) นายพีรศิลป์ นิลวรรณ ผอ.รพสต.บ้านวิทย์ กรรมการ
๗) นายจรา สาระพงษ์ ผู้แทน อสม. กรรมการ
๘) นายสมบูรณ์ สาระพงษ์ ผู้แทน อสม. กรรมการ
๙) นายธนวัฒน์ จันภักดี ผู้แทนหมู่บ้าน กรรมการ
๑๐) นางละมัย วรรณทะวงษ์ ผู้แทนหมู่บ้าน กรรมการ
๑๓) นายมลัด สุภารัตน์ ผู้แทนหมู่บ้าน กรรมการ
๑๒) นายกิตติเดช สุนทร ผู้แทนหมู่บ้าน กรรมการ
๑๓) นายสด สาระพงษ์ ผู้แทนหมู่บ้าน กรรมการ
๑๕)นางนารีย์ สุภาพผู้แทนของศูนย์ประสานงานฯ กรรมการ
๑๔)ปลัด อบต. ลมศักดิ์ กรรมการและเลขานุการ
๑๕หัวหน้าสำนักปลัด อบต.ลมศักดิ์ กรรมการและผู้ช่วย
เลขานุการ
๑๖) ผอ.กองคลัง อบต.ลมศักดิ์ กรรมการและผู้ช่วย
เลขานุการ
มีหน้าที่ ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การปฏิบัติในเรื่องอื่นใด ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ และตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3. ระบบข้อมูลข่าวสาร (Health Information Systems)
- การเผยแพร่ข่าวสารผ่านระบบเสียงตามสายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
- การเผยแพร่ข่าวสารผ่านกลุ่ม facebook และ Line
4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Access To Essential Medicines)
- ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน แอพพลิเคชั่น (Application) “ศรีสะเกษสู้ไข้เลือดออก”
- เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- เครื่องวัดอุณหภูมิฝ่ามือ และเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด
- ชุดตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
5. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Financing)
แหล่งงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ตำบล
ลมศักดิ์ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
1. สปสช.จัดสรรตามหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าใช้จ่ายบริการ
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จำนวน 45 บาทต่อประชากร
เป็นเงิน 209,070.00 บาท
2. องค์การบริหารส่วนตำบลลมศักดิ์ จ่ายเงินสมทบ ร้อยละ 40
เป็นเงิน 83,628.00 บาท
รายงานสรุปจำนวนโครงการและงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นของ อบต.ลมศักดิ์ รวม 11 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 415,525.00 บาท แยกตามประเภทโครงการ ดังนี้
โครงการประเภท 1 (สนับสนุนหน่วยบริการ/สถานบริการ/
หน่วยงานสาธารณสุข) จำนวน 4โครงการ
งบประมาณ 203,075.00 บาท
โครงการประเภท 2 (สนับสนุนองค์กรหรือกลุ่มประชาชน/
หน่วยงานอื่น) จำนวน 5โครงการ
งบประมาณ 159,300.00 บาท
โครงการประเภท 3 (สนับสนุนศูนย์ฯ เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/
คนพิการ) จำนวน - โครงการ
งบประมาณ - บาท
โครงการประเภท 4 (สนับสนุนการบริหาร/พัฒนากองทุนฯ)
จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 40,550.00บาท
โครงการประเภท 5 (สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ)
จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 12,600.00บาท
รายงานสรุปโครงการ จำนวนคน และงบประมาณ
แยกตามกลุ่มเป้าหมายทั้ง 9 กลุ่ม ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ท้องถิ่น ของอบต.ลมศักดิ์ ประจำปีงบประมาณ 2564 ดังนี้
กลุ่ม 1 (หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด) จำนวน - โครงการ
เป้าหมาย - ราย งบประมาณทั้งสิ้น - บาท
กลุ่ม 2 (เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน) จำนวน 1 โครงการ
เป้าหมาย 13 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 21,100.00บาท
กลุ่ม 3 (เด็กวัยเรียน และเยาวชน) จำนวน 1 โครงการ
เป้าหมาย 532 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 120,100.00บาท
กลุ่ม 4 (วัยทำงาน) จำนวน 5 โครงการ
เป้าหมาย 1,540 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 142,000.00บาท
กลุ่ม 5 (ผู้สูงอายุ) จำนวน - โครงการ
เป้าหมาย - ราย งบประมาณทั้งสิ้น - บาท
กลุ่ม 6 (ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) จำนวน - โครงการ
เป้าหมาย - ราย งบประมาณทั้งสิ้น - บาท
กลุ่ม 7 (คนพิการ และทุพพลภาพ) จำนวน - โครงการ
เป้าหมาย - ราย งบประมาณทั้งสิ้น - บาท
กลุ่ม 8 (ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง) จำนวน 5 โครงการ
เป้าหมาย 608 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 232,975.00 บาท
กลุ่ม 9 (ค่าใช้จ่ายสำหรับบริหารกองทุน) จำนวน 1 โครงการ
เป้าหมาย 28 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 40,550.00 บาท
6. ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล (Leadership Governance)
1. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคประชาชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านความคิด ข้อมูลข่าวสาร ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลส่งเสริม และสนับสนุนต่อกัน
2. การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง :
เวปไซต์อบต.ลมศักดิ์. ประวัติความเป็นมา. (2017). Retrieved October 19, 2021, from Lomsaak.go.th website: http://lomsaak.go.th/data_5192
โปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. (2018). Retrieved October 19, 2021, from Nhso.go.th website: https://obt.nhso.go.th
เวปไซต์ รพ.สต.บ้านวิทย์ . (2012). Retrieved October 19, 2021, from Blogspot.com website: http://kk03371.blogspot.com/2012/11/blog-post.html